top of page

"นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การรักษาด้วยงานถือเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด จำเป็นที่สุดและขาดเสียมิได้" นพ.โมเดิร์น  คาร์ทิว

          ต่อมาในสมัย ศ.นพ.ฝน  แสงสิงแก้ว เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา   ได้พัฒนาแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชมาใช้ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ โดยการแบ่งกิจกรรมเป็นกองงานต่างๆเพื่อให้ ผู้ป่วยได้ใช้กิจกรรมเหล่านั้นฟื้นฟูทักษะด้านการดำเนินชีวิต ซึ่งนับได้ว่า รพ.สมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถานพยาบาลแห่งแรกของไทยที่นำกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด หรือ อาชีวบำบัด(ในขณะนั้น) มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเพื่อการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทักษะด้านการดำเนินชีวิตเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะมีการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล และถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้

25631.jpg

ศ.นพ.ฝน  แสงสิงแก้ว

            ปัจจุบันการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชนั้น ได้มีการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต เปลี่ยนไปตามบริบทของยุคสมัยในปัจจุบัน โดยยังคงมุ่นเน้นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ 3 ด้านหลัก เพื่อให้ผู้ป่วย มีระดับทักษะการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นเมื่ออาการทุเลาลง ซึ่งประกอบด้วย

1.ทักษะกิจวัตรประจำวัน ประกอบด้วย  กิจวัตรพื้นฐาน  และกิจวัตรขั้นสูง

2.ทักษะการทำงาน

3.ทักษะการใช้เวลาว่าง 

กลุ่มงานฟื้นฟูทางสุขภาพจิตและจิตเวช

เป็นการบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชและประสาทจิตเวชศาสตร์  ให้ผู้ป่วยได้รับการพัฒนาทักษะด้านการดูแลตนเอง การทำงาน การใช้เวลาว่างได้อย่างเหมาะสม และมีทักษะอาชีพได้ตามศักยภาพและมีความพึงพอใจต่อการรับบริการ

ขอบเขตการให้บริการ  

          ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชและประสาทจิตเวชศาสตร์ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มีปัญหาในด้านทักษะการดำเนินชีวิตด้านการดูแลตนเอง  การทำงาน  การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และการประกอบอาชีพตลอดจนการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มความพร้อมในการประกอบอาชีพเบื้องต้นตามศักยภาพผู้ป่วย

bottom of page